โซดาซ่า ดูบอล
Menu
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย

กฎการนอนหลับ 90 นาที ตื่นยังไงให้ร่างกายสดชื่น

การจะตื่นนอนในเวลาที่ต้องการตื่นนั้น ช่างเป็นไปได้ยากสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีวินัยในการตื่น หรือตื่นไม่เป็นเวลาและคนที่ทำงานมาอย่างหนัก ไม่ว่าจะด้วยทางสมองหรือทางร่างกายที่ถูกใช้งาน จึงเกิดการสะสมมาเรื่อยๆ กลายเป็นความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ร่างกายต้องการพักผ่อนมากขึ้น ใครหลายๆคนอาจจะใช้การนอนหลายๆชั่วโมง ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้า แต่กลับรู้สึกนอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกพอ แถมยังตื่นมาไม่สดชื่นอีกต่างหาก แล้วที่เรานอนไปนั้นเราได้อะไรกลับมาบ้าง คงเป็นเพียงการพักร่างกายให้หายเหนื่อยเท่านั้นเองหรอ คนเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมนอนมากขนาดนี้กลับตื่นมาไม่เห็นจะช่วยอะไรเลย และถ้าอยากให้ร่างกายตื่นมาอย่างสดชื่นเต็มอิ่ม สมองพร้อมทำงานเต็มที่จะต้องทำอย่างไร งั้นเราต้องมาทำความรู้จักกันกับ กฎการนอน 90 นาที ที่หลายคนไม่รู้มาก่อนว่าการนอนเพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใสตื่นมาเต็มอิ่มได้เหมือนกัน แอลธีอะนีน ผลข้างเคียง

กฎการนอนหลับ 90 นาที

กฎการนอนหลับ 90 นาทีนี้ เป็นกฎการนอนแบบช่วยคนที่นอนน้อยและผักผ่อนไม่เพียงพอให้หลับสนิทได้ และสามารถใช้กับคนที่นอนเยอะแต่นอนได้ไม่มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นเทคนิคการนอนที่ช่วยได้และมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

ปกติคนเราจะนอนหลับพักผ่อนที่ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน การนอนน้อยไปหรือมากไปจะทำให้ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า ซึ่งการนอนหลับแบบวงจร (cycle) เรียกว่า หลับลึก หลับตื้น เป็นการนอนแบบ 90 นาที ต่อ 1 วงจร เราจะหลับเป็นรอบๆตลอดทั้งคืน ทั้งคืนเราจะใช้เวลาประมาณ 5 รอบ เพราะหากเราตื่นในช่วงหลับลึกก็จะรู้สึกงัวเงีย ไม่ยอมตื่น กลายเป็นขี้เซาและหงุดหงิด หากตื่นตอนหลับตื้น เราจะสามารถตื่นได้ง่ายเพราะร่างกายถึงเวลาตื่นแล้ว และจะไม่รู้สึกงัวเงีย ถือว่าครบรอบการนอนแบบ cycle โดยไม่ต้องเลื่อนนาฬิกาปลุกอีกแล้ว

ระยะเวลาของการนอนหลับของกฎการนอน 90 นาที

มีเพียง 2 ช่วงได้แก่

  1. ช่วงการนอนที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (NON Rapid Eye Movement : NREM) เป็นการนอนหลับแบบแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

-    ระยะที่ 1 (N1) คือระยะเริ่มตื่นหรือหลับตื้น ถ้าร่างกายถูกปลุกจะสามารถตื่นได้ทันที ไม่ง่วงไม่งัวเงีย บางครั้งอาจจะรู้สึกไม่ได้นอนเลยด้วยซ้ำ ใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น

-    ระยะที่ 2 (N2) คือระยะที่เริ่มเชื่อมต่อกับระยะแรกคือหลับตื้นกับหลับลึก เริ่มมีการกระตุ้นการทำงานของสมอง และถ้าหากถูกปลุกก็จะไม่งัวเงียอีกเช่นกัน ใช้เวลาเพียง 20 นาที

-    ระยะที่ 3 (N3) เป็นช่วงที่เข้าถึงการหลับลึกที่สุด จะเป็นช่วงที่ Growth hormone ถูกผลิตออกมาซ่อมแซมร่างกาย หากโดนปลุกช่วงนี้จะงัวเงียสุดๆ เพราะร่างกายจะไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างทำให้หลับลึก ร่างกายจะอ่อนแอและเริ่มทำการฟื้นฟูเนื้อเยื้อส่วนภายใน โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที

  1. ช่วงการนอนที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movement : REM) เป็นการนอนหลับแบบแบ่งเป็น 1 ใน 4 ระยะ เป็นช่วงการนอนที่สมองจะทำงานใกล้เคียงกับตอนตื่น มักจะฝัน และจินตนาการเรื่องเกินจริงหรือสิ่งที่เราหมกมุ่นมากๆหรือคิดกับสิ่งนั้นบ่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที 

ทั้งหมดที่กล่าวมาเกี่ยวกับระยะการนอน N1 N2 N3 (NREM) และ REM นั้นคือการใช้เวลาทั้งหมดรวมกัน รวมเป็น 80+10 นาที เป็น 90 นาที เท่ากับการนอนครบวงจร cycle 1 รอบ โดยสามารถนอนหลับได้ดีถึง 5 รอบ เท่ากับ 7 ชั่วโมงครึ่ง แต่จริงๆแล้วหากเราหลับได้ดีไม่มีอะไรมารบกวนการนอนเลย เราสามารถหลับได้โดยไม่ต้องครบ 5 รอบก็ได้ เพียงแค่ตื่นในช่วงหลับตื้นก็สามารถตื่นได้โดยไม่เกิดการงัวเงีย และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า 

วิธีกำหนดเวลานอน

ในเมื่อกิจวัตรประจำวันของคนเรามีการใช้เวลาไม่เท่ากันและแตกต่าง เราอาจจะต้องกำหนดเวลานอนของตัวเองเพื่อให้สะดวกแก่การนอนและตื่นในทุกๆวัน ด้วยการยึดหลักการนอนหลับ 90 นาที หลับยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี สามารถดูเวลาตามนี้ได้และนำไปปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง

โพสต์โดย : Chor2537 Chor2537 เมื่อ 15 ม.ค. 2564 18:16:24 น. อ่าน 132 ตอบ 0

facebook